กฤษณาสยาม

  • Increase font size
  • Default font size
  • Decrease font size
Home ปุ๋ยปุ๋ยปุ๋ย ปุ๋ยปุ๋ยปุ๋ย ข้อเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

ข้อเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

E-mail Print PDF

ข้อเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

ปุ๋ยเคมี

คุณสมบัติของปุ๋ย

ปุ๋ยอินทรีย์

ปกติมีเท่าที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุ หากต้องการแร่ธาตุตัวใดเพิ่มเติมต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มพิเศษเป็นตัวๆไป

จำนวนแร่ธาตุอาหารที่พืชต้องการในตัวปุ๋ย

มีครบทั้ง ๑๓ แร่ธาตุที่พืชต้องการในตัวปุ๋ยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแต่อย่างใด

ปกติไม่มีอยู่ในปุ๋ย หากต้องการต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มเติม

จำนวนและปริมาณฮอร์โมนที่พืชต้องการในปุ๋ย

ปกติมีอยู่แล้วในปุ๋ยอินทรีย์ จึงไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มเติม

ปกติไม่มีอยู่ในตัวปุ๋ย หากต้องการต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มเติม

จำนวนอินทรียวัตถุในปุ๋ย

มีอยู่ในตัวปุ๋ยทั้ง ๑๐๐% โดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อเพิ่มเติม

ยิ่งใช้มากๆนานๆความพรุนของดินยิ่งหายไป ดินยิ่งมีความแน่นทึบมากขึ้นเรื่อยๆ

สภาพความพรุนของดินภายหลังการใช้ปุ๋ย

ยิ่งใช้มากๆนานๆดินยิ่งฟูยิ่งมีความพรุนของดินมากขึ้นเรื่อยๆ

ยิ่งใช้มากๆนานๆดินยิ่งแน่นแข็ง การระบายอากาศยิ่งแย่มากๆ ในดินมีอากาศน้อยลงเรื่อยๆจนไม่เพียงพอต่อพืช

สภาพการระบายอากาศของดินภายหลังการใช้ปุ๋ย

ยิ่งใช้มากๆนานๆดินยิ่งฟู อากาศยิ่งมาก การระบายถ่ายเทของอากาศยิ่งดีมากขึ้นไปเรื่อยๆ

ยิ่งใช้มากยิ่งใช้นาน การอุ้มน้ำ การระบายน้ำของดินยิ่งน้อยลงขึ้น เพราะดินยิ่งแน่นยิ่งแข็งมากขึ้น

สภาพการอุ้มน้ำการระบายน้ำของดินภายหลังการใช้ปุ๋ย

ยิ่งใช้มากใช้นานไป การอุ้มน้ำการระบายน้ำของดินยิ่งดีขึ้น เพราะดินยิ่งฟูขึ้น

ยิ่งใช้มากใช้นานไป สิ่งมีชีวิตในดินยิ่งหมดไปตายไป เพราะสภาพดินเป็นกรดมากขึ้น อากาศและน้ำในดินยิ่งลดน้อยลง

สิ่งมีชีวิตในดินภายหลังการใช้ปุ๋ย

ยิ่งใช้มากใช้นานไป สิ่งมีชีวิตในดินยิ่งมีเพิ่มพูนมากขึ้น เพราะดินยิ่งเป็นกรดน้อยลง ดินยิ่งฟูมากขึ้น การระบายน้ำและอากาศยิ่งดีมากขึ้น

ผลิตในต่างประเทศต้องเสียเงินตราออกไปต่างประเทศ เสียดุลการค้า

แหล่งผลิตของปุ๋ย

ผลิตได้เองภายในประเทศ สร้างรายได้ให้แก่คนในประเทศ

สร้างสภาวะความเป็นกรดให้ทั้งแก่ดินและแหล่งน้ำทั่วไป

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของปุ๋ย

ไม่มีผลสร้างความเป็นกรดให้ทั้งแก่ดินและแหล่งน้ำทั่วไป

ปุ๋ยเคมีจะปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในคราวเดียว ทำให้พืชดูดไปใช้ไม่ทัน มีการสูญเสียไปกับการชะล้างของน้ำมีมาก

การสูญเสียธาตุอาหารเมื่อใส่ปุ๋ยลงในดิน

ปุ๋ยอินทรีย์จะดูดเก็บธาตุอาหารไว้แล้วค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาทีละน้อย ทำให้พืชสามารถดูดไปใช้ได้ทัน การสูญเสียไปกับการชะล้างของน้ำมีน้อย

ต้นพืชมีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วและเด่นมากๆในส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากแร่ธาตุตัวนั้นๆที่มีในปุ๋ย เช่น ไนโตรเจน ลำต้นใบก็จะมีการเจริญเติบโตดีมาก ลำต้นอวบใหญ่ แต่ความแข็งแกร่งของลำต้นมีน้อย จึงหักล้มง่าย โรคแมลงเข้าทำลายง่ายเพราะอวบอ้วน จึงต้องใช้ควบคู่กับสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วย เสียเงินอีกต่อหนึ่ง

สภาพของต้นพืชภายหลังได้รับปุ๋ย

ต้นพืชมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วมากนักแต่ก็ไม่ช้า เป็นการเจริญเติบโตแบบสมดุลไปทุกๆส่วน แข็งแกร่งไปทุกๆส่วน ไม่อวบอ้วนเฉพาะส่วน เพราะได้รับแร่ธาตุอาหารครบทั้ง ๑๓ตัวที่พืชต้องการ จึงมีความเข้มแข็งแข็งแกร่งต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง จึงไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชควบคู่ไปด้วย หรือใช้น้อยมาก ทำให้ประหยัดไปได้อีกส่วนหนึ่ง

พืชให้ผลผลิตไปตามฤดูกาล ๑ ครั้ง/ปี

การให้ผลผลิตของพืชภายหลังการใช้ปุ๋ย

เนื่องจากพืชมีความสมบูรณ์ไปทุกๆส่วน จึงทำให้พืชสามารถให้ผลผลิตได้มากครั้งกว่าปกติ เช่น ๒ ครั้ง/ปี หรือ ๓ ครั้ง/ปี

รสชาติแหลมเฉพาะรส

รสชาติของผลผลิตภายหลังการใช้ปุ๋ย

รสชาติกลมกล่อม เป็นที่นิยมของตลาดทั่วไปโดยเฉพาะตลาดระดับบน

แพงกว่า ๒ – ๓ เท่า

ราคาปุ๋ย

ถูกกว่ามาก

๒ – ๓ ครั้งต่อปี

มีต้นทุนค่าแรงงานในการใส่ปุ๋ยเพิ่ม

จำนวนครั้งในการให้ปุ๋ยเพื่อให้มีการสูญเสียธาตุอาหารน้อยที่สุด

๑ – ๒ ครั้งต่อปี

ลดต้นทุนค่าแรงงานในการใส่ปุ๋ย

ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ต้นทุนค่าปุ๋ยเพิ่ม กำไรหดลดน้อยลง

จำนวนปุ๋ยที่ต้องใช้เพื่อรักษาระดับจำนวนคุณภาพของผลผลิตเมื่อระยะเวลาในการปลูกพืชผ่านนานไป ๕ – ๑๐ ปี

อาจต้องลดปริมาณการใช้ลง หรือ อย่างน้อยก็คงที่

ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนค่าปุ๋ย กำไรเพิ่ม

ผลกำไรโดยรวมลดลงทุกๆปี ไปจนขาดทุน เพราะ ราคาปุ๋ยเพิ่มทุกๆปีเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จำนวนการใช้เพิ่มทุกๆปี แต่ราคาผลผลิตเพิ่มในอัตราส่วนที่น้อยกว่าราคา

ผลกำไรโดยรวมของการใช้ปุ๋ยกับมูลค่าราคาของผลผลิต

ผลกำไรโดยรวมเพิ่ม เพราะราคาปุ๋ยไม่เพิ่ม หรือ เพิ่มน้อย เพราะปุ๋ยอินทรีย์ผลิตได้ในประเทศหรือเราผลิตใช้เอง จำนวนการใช้ก็ไม่เพิ่มมากหรือคงที่หรือลดลงด้วยซ้ำ

สุขภาพไม่ดีนัก เพราะได้รับผลข้างเคียงจากสารเคมีในปุ๋ยเคมี

สุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภคภายหลังใช้ปุ๋ย

สุขภาพดี เพราะปุ๋ยอินทรีย์ไม่มีผลข้างเคียงของสารเคมีใดๆ

จ่ายมาก ได้กำไรน้อย รสชาติไม่อร่อยไม่กลมกล่อม คุณภาพของดินเสียวันเสียคืน สุขภาพของทั้งผู้ปลูกและผู้กินแย่ลงทุกวันทุกคืน สิ่งแวดล้อมเสื่อมวันแล้ววันเล่า เสียดุลการค้า

สรุปผลของการใช้ปุ๋ย

จ่ายน้อย ได้กำไรมาก รสชาติอร่อยดีกลมกล่อม คุณภาพของดินดีวันดีคืน สุขภาพทั้งผู้ปลูกและผู้กินดีวันดีคืน สิ่งแวดล้อมดีวันดีคืน ไม่เสียดุลการค้า

ถึงเวลาแล้ว ที่เราจะมุ่งมั่นใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันอย่างจริงจัง เพื่ออนาคตของเราในวันนี้ และอนาคตของลูกหลานของเราในวันหน้า ตัวผมเองใช้ไปนานแล้วครับ แล้วท่านหล่ะครับยังจะต้องรออะไรอยู่อีก ?


หมายเหตุ

ข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นข้อสรุปจากประสบการณ์ตรงส่วนตัวของผู้เขียนเองในรอบ ๓๐ ปีที่ผ่านมา

Last Updated on Saturday, 16 June 2018 17:48  

Newsflash

The one thing about a Web site, it always changes! Joomla! makes it easy to add Articles, content, images, videos, and more. Site administrators can edit and manage content 'in-context' by clicking the 'Edit' link. Webmasters can also edit content through a graphical Control Panel that gives you complete control over your site.