แร่ธาตุที่พืชต้องการเป็นอาหาร

Tuesday, 10 May 2011 21:55 เฑียรชัย เอื้อชูจิตต์
Print

แร่ธาตุที่พืชต้องการเป็นอาหาร สามารถแบ่งตามความต้องการมากน้อยของพืชได้ดังนี้

๑.    ธาตุอาหารหลัก (primary plant foods)
ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน (N) ธาตุฟอสฟอรัส (P) ธาตุโพแทสเซี่ยม (K)
ธาตุทั้ง ๓ นี้ต้องการในปริมาณมาก

๒.    ธาตุอาหารรอง (secondary plant foods)

ได้แก่ ธาตุแคลเซี่ยม (Ca) ธาตุแมกนีเซี่ยม (Mg) ธาตุกำมะถัน (S)
ธาตุทั้ง ๓ นี้พืชต้องการในปริมาณมากรองลงมาจากธาตุอาหารหลัก

๓.    ธาตุอาหารเสริม (minor element)
ได้แก่ ธาตุโบรอน (B) ธาตุแมงกานีส (Mn) ธาตุทองแดง (Cu) ธาตุเหล็ก (Fe) ธาตุสังกะสี (Zn) ธาตุโมลิบดินัม (Mo) ธาตุคลอรีน(Cl)
ธาตุเหล่านี้พืชต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นที่พืชต้องได้รับ พืชขาดไม่ได้

รวมธาตุอาหารทั้ง ๓ กลุ่ม ได้ ๓ + ๓ + ๗ = ๑๓ ชนิด

หากพืชได้รับแร่ธาตุครบทั้ง ๑๓ ชนิดดังกล่าวแล้วจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชในด้านต่างๆ กันไป เช่น

ทำให้มีรากมาก รากยาว รากแข็งแรง

ทำให้ ลำต้นเจริญเติบโต ใบดก งาม ใหญ่  มีดอกมาก แข็งแรงสมบูรณ์เหมาะในการผสมเกสรที่ดี ทำให้ผสมติดได้ง่าย

ทำให้ผลมีคุณภาพทั้งจำนวนผล ขนาดผล และรสชาดของผล

ทำให้ลำต้นแกร่ง มีขนปกคลุม มีไขเคลือบ ทำให้โรคแมลงเข้าทำลายได้ยาก

เป็นต้น

แต่หากพืชได้รับแร่ธาตุไม่ครบทั้ง ๑๓ ชนิด จะทำให้พืชเจริญเติบโตแบบอ้วน แต่ไม่แข็งแรง แข็งแกร่ง จึงอ่อนแอ ง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคแมลง เช่น

หากได้รับ ธาตุไนโตรเจน มาก ลำต้นพืชจะอวบอ้วน ผิวอ่อนบาง ฉ่ำน้ำ โรคแมลงเข้าทำลายได้ง่าย และโรคแมลงชอบเป็นอย่างมาก เป็นต้น

ปุ๋ยจากธรรมชาติเท่านั้นที่มีแร่ธาตุครบทั้ง ๑๓ ชนิด

ปุ๋ยเคมีทั่วไป ไม่มีแร่ธาตุครบทั้ง ๑๓ ชนิด

หากต้องการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้ได้แร่ธาตุครบทั้ง ๑๓ ชนิด จะต้องใช้เงินมากกว่าปกติมาก

Last Updated on Wednesday, 20 November 2019 15:05